เสริมพลังวิชาการช่วยการพัฒนา โครงการบริการวิชาการ “กาญจนดิษฐ์โมเดล : โมเดลระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน กรณีอำเภอขนาดใหญ่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี”

ตามที่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร. จรวย สุวรรณบำรุง ได้รับทุนสนับสนุนทุนจากกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย “การจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม” ภายใต้โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2560 จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และการสนับสนุนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ดำเนินการถ่ายทอดฯ แก่แกนนำสุขภาพของ 19 อำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้องค์ความรู้ ไชยาโมเดล: โมเดลเครือข่ายระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก ไข้เลือดออก ประกอบด้วย 7 กิจกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ 1) การประเมินหมู่บ้านพื้นที่เสี่ยงเพื่อทำนายการระบาดของโรคไข้เลือดออกโดยเน้นการมีส่วนร่วมของพื้นที่ 2) ติดตั้งระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายจากการดำเนินการของครัวเรือนที่ อสม. รับผิดชอบผ่านการดำเนินการของแต่ละ รพ.สต.  3) โปรแกรมดัชนีลูกน้ำยุงลาย http://lim.wu.ac.th โดยเตรียมความพร้อมของศูนย์เฝ้าระวังระดับโดยเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของ รพ.สต. รพช. และเทศบาล  4) ประเมินและพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้และความเข้าใจดัชนีลูกน้ำยุงลาย ของ อสม. 5) การประเมินและกระตุ้นการสร้างสมรรถนะชุมชนของหมู่บ้านที่มีความเสี่ยงสูงหรือการดำเนินการในระดับตำบล 6) การพัฒนางานประจำให้เป็นงานวิจัยเชิงพื้นที่ ด้วยทีมแกนนำของอำเภอ รพ.สต. ตำบล และหมู่บ้าน  7) การทำงานเชิงเครือข่ายในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก ของคน 4 … Continue reading เสริมพลังวิชาการช่วยการพัฒนา โครงการบริการวิชาการ “กาญจนดิษฐ์โมเดล : โมเดลระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน กรณีอำเภอขนาดใหญ่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี”